Air cargo หนึ่งในธุรกิจการบินนอกเหนือจากการบริการบนเครื่อง

การขนส่งสินค้าทางอากาศ

cargo

 

การขนส่งสินค้าทางอากาศ!!!!
การขนส่งสินค้าทางอากาศ  หมายถึง  การขนส่วที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายประต่างๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการของบริษัทที่สร้างเครื่องบินซึ่มีขนาดใหญ่และสมรรถภาพในการบินสูง  สามารถบรรจุสินค้าและยรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น  มีเครื่องมือในการขนส่งสินค้าอันทันสมัยครบครัน  นอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานให้กว้างขวางทันสมัยเพื่อการขนส่งสินค้าดำเดินบทบาทของการขนส่งทางอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ

คุณลักษณะที่สำคัญของการขนส่งสินค้าทางอากาศ
1.  ความรวดเร็ว  การขนส่งสินค้าทางอากาศถือว่ารวดเร็วที่สุด
2.  ความแน่นอน  มีตารางการบินที่แน่นอน  สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา

การขนส่งสินค้าทางอากาศนี้อาจมีข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนัก  และชนิดสินค้าที่ถูกกำหนด อาทิ เช่น  น้ำหนักต่อ  1000  ต้องเสียค่าระวางแบบพิเศษ   หรือการขนส่งสิ่งมีชีวิตที่ต้องการใบรับรองยินยอมไม่เอาเรื่องต่อสายการบินหากสิ่งมีชีวิตนั้นเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง

ประโยชน์ต่อผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก
1.  ช่วยให้ติดต่อค้าขายระหว่งประเทศดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
2.  ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การสร้างโกดังเพื่อเก็บสินค้าที่จะนำเข้า-ออก
3.  ช่วยให้สินค้าแบบหรือรุ่นใหม่โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่นส่งไปถึงตลาดในที่ต่างๆทั่วโลกให้พร้อมกัน
4.  การบรรจุหีบห่อสำหรับสินค้าทั่วไปที่ส่งทางอากาศมักเป็นแบบง่ายๆ ช่วยทำให้ประหยัดวัสดุและค่าขนส่ง
5.  ถ้านิยมในตลาดต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ของตลาดได้ทันมี
6.  การขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถดำเนินการด้านเอกสารได้อย่างรวดเร็วในการถ่ายสินค้าจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง

ผู้มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ
1. ผู้ส่งสินค้าหรือ shipper หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฎอยู่ในเอกสารกำกับสินค้าหรือ
air  waybill ที่จะทำการหรือร่วมมือทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน  air waybill
2. บริษัทหรือ carrier  หมายถึง  บริษัทการบินต่างๆซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ออกเอกสารกำกับสินค้า air waybill  ที่จะทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน air waybill
3. ผู้รับสินค้า consignee หมายถึง ผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน air waybill ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่งมอบสินค้าให้เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว้
4. บริษัทตัวแทน IATA CARGO AGENT  หมายถึง บริษัทที่ได้รับรองจากสมาคมการขนส่งทางอากาศและแต่งตั้งโดยบริษัทการบินให้ดำเนินการรับและออกเอกสารกำกับสินค้า air waybill พร้อมทั้งเก็บค่าขนส่งที่เกี่ยวข้องในนามของบริษัทการบิน
5. ศุลกากร (customs)

วิธีการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ  สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย  เมื่อผู้ต้องการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้รับในต่างประเทศ จะต้องมีขั้นตอนวิธีการให้บริการขนส่งดังต่อไปนี้  คือ
-ขั้นตอนที่ 1  ผู้ส่งสินค้าทางอากาศจะต้องติดต่อตัวแทนผู้รับจัดการขนส่ง เมื่อมีการตกลงระหว่างผู้ส่งสินค้ากับตัวแทนเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากสินค้ามีจำนวนหรือปริมาณไม่มากนักก็อาจส่งให้ตัวแทนในเมืองได้แต่ถ้าหากสินค้านั้นมีปริมาณมากจะต้องส่งสินค้าทางสนามบิน
-ขั้นตอนที่2  หลังจากผู้ส่งสินค้าได้ชำระค่าระวาง (ในกรณีที่ขายสินค้าในราคา C&F จะต้องเก็บค่าระวางต้นทาง ถ้าในกรณีขายสินค้า  E.O.B ก็จะเก็บค่าระวางปลายทาง)  และผ่านการตรวจสอบของศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สายการบินจะนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าขาออกเพื่อเตรียมขึ้นเครื่องบินต่อไป
-ขั้นตอนที่3  ถ้าหากมีการถ่ายลำสินค้านั้น ก็จะถูกนำไปดเก็บในคลังสินค้าสำหรับการถ่ายลำ

การให้บริการตามชนิดสินค้า  เป็นการผลิตบริการของสายการบินในการให้บริการรับส่งสินค้าทางอากาศตามชนิดของสินค้าแต่ละประเภท  ซึ่งสินค้าที่เหมาะสมในการขนส่งทางอากาศสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกัน
1.ประเภทสินค้าที่เก็บไว้ได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเน่าเสียได้เสีย (Perishable Goods) ได้แก่ ผลไม้สด ดอกไม้สด ผักสด ต้นไม้ สัตว์มีชีวิต เป็นต้น
2.ประเภทสินค้าต้องการรีบด่วน ส่วนใหญเป็นสินค้าที่ต้องการให้ทันต่อเหตุการณ์  เป็นสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่จะส่งมอบให้เเก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือสงคราม  หรือต้องการ
อะไหล่เพื่อเปลี่ยนโดยด่วนหรือสินค้าที่ต้องการทดสอบตลาด เป็นต้น
3.ประเภทสินค้าที่ล้าสมัย  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทง่ายต่อการล้าสมัย  เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือรายสัปดาห์  นิตยสารหรือวารสารรายปักษ์  เสื้อผ้า  แฟชั่นตามสมัย  เป็นต้น
4.ประเภทสินค้าที่มีมูลค่าสูง  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทที่มีมูลค่าสูง  แต้มีน้ำหนักไม่มาก  เช่น  อัญมณี  ทองคำ  ธนบัตร  เครื่องประดับ  ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์  เป็นต้น  ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบินนั้นมีสินค้าหลายชนิดที่ธุรกิจการบินไม่รับขนส่งให้แก่ผู้ใช้บริการ  เนื่องจากเป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรม  ความสงบเรียบร้อยเเละความปลอดภัย  ซึ่งสินค้าที่ห้ามทำการขนส่งทางอากาศ  โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ.2498  ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

การให้บริการคลังสินค้า
เป็นการให้บริการของธุรกิจการบินในด้านสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราวแก่ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า  เพื่อรอการตรวจตราจากศุลกากรเเละรอการรับจากผู้รับสินค้า  หรืออาจจะรอการถ่ายลำเพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศอื่น  ตามปกติคลังสินค้าประเภทนี้จะไม่คิดค่ารักษาภายในกำหนดเวลาไม่เกิน  48  ชั่วโมง โดยทั่วไปสายการบินแต่ละสายจะมีคลังสินค้าของตนเอง  ซึ่งอาจเช่าสถานที่จากรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดเก็บสินค้าของลูกค้าผู้ใช้บริการของสายการบินเอง  ฉะนั้นเมื่อมีการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยสายการบินได  ผู้รับสินค้าจะต้องไปรับ ณ คลังสินค้า  ของสายการบินนั้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ
สมาคมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (The International  Air  Cargo  Association – TIACA)  ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า ในปัจจุบันกว่าร้อยละ  34  ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ  ต้องอาศัยการขนส่งสินค้าทางอากาศ  ยิ่งไปกว่านั้นการขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศได้ขยายเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  แม้จะประสบกับภาวะตกต่ำในบางช่วงก็ตาม  แต่ธุรกิจการบินที่บริการขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
1.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  รวมถึงการพัฒนาทั้งทางด้านเกษตรเเละอุตสาหกรรมของโลกได้ก่อให้เกิดประเภทของสินค้าต่างๆ หลากหลายขึ้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง  แต่มีขนาด  ปริมาตร  และน้ำหนักไม่มาก  ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องอาศัยระบบการขนส่งที่รวดเร็วปลอดภัย  เเละมีการดูแลสภาพของสินค้าอย่างดีที่สุด  เช่นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์  เครื่องมือเเละอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง  อัญมณีเเละเครื่องประดับ
2.การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของประมาณการค้าของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณเเละประเภทของสินค้าที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organixation – WTO)
3.ธุรกิจเเบบครบวงจร  เป็นธุรกิจที่ต้องการด้านการขนส่งที่เชื่อถือเเละวางใจได้  เพื่อนำสิ่งต่างๆ ที่กิจการต้องการมาให้ในสภาพที่ดีเเละตามกำหนดเวลา  เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเเละบำรุงรักษา  การขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของธุรกิจนี้
4.แนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า Just-in-Time Concept  แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นการบริหารสินค้าคงเหลือเเละปริมาณสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงานภายใต้วิธีการบริหารจัดการแบบ Just-in-Time Concept  นี้ผู้ประกอบการในธุรกิจระหว่างประเภทจะมีสต็อกสินค้าในปริมาณต่ำที่สุดหรือเฉพาะในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  แต่แนวทางการบริหารดังกล่าวจะประสบผลได้  ก็จะต้องอาศัยระบบการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายเเละสู่ตลาดที่มีความรวดเร็วตรงเวลา  ถูกต้องเเละเเม่นยำ
5.การผ่อนปรนกฎเเละข้อบังคับของประเทศต่างๆ  ทำให้ธุรกิจการบินสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น
6.นโยบายเปิดเสรีทางการบินพาณิชย์  ทำให้ธุรกิจการบินต่างๆ  ทั้งขนส่งผู้โดยสารเเละขนส่งสินค้า  สามารถขยายบริการไปยังน่านฟ้าประเภทต่างๆ ได้เสรีมากขึ้น  ธุรกิจการบินจึงหันมาเพิ่มบทบาทในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศกันมากขึ้น  โดยการจัดตั้งธุรกิจการบินรับส่งสินค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ
7.การผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่  จะเป็นเครื่องบินที่ได้พัฒนาเเละปรับปรุงให้มีสมรรรถนะเเละประสิทธิภาพสูง  สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น  เเละบินได้ระยะทางที่ไกล  ทำให้การส่งสินค้าทางอากาศขยายตัวได้มากขึ้น
8.ท่าอากาศยาน  ระบบพื้นฐานของท่าอากาศยานในปัจจุบันเเละที่สร้างหรือปรับปรุงใหม่ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอย่างมาก  เพราะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งทางรถไฟ รถยนต์  เรือ  เเละเครื่องบินเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังมีระบบสื่อสารที่ทันสมัยไว้บริการ
9.น้ำมันเชื้อเพลิง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ดำเนินการเเละกำหนดราคาค่าขนส่งถ้าหากปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิง  ก็ไม่สามารถดำเนินงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้

คำศัพท์เกี่ยวกับการนำเข้าเเละส่งออก

BAF (Bunker  Adjuster  Factor)                        ตัวปรับค่าน้ำมัน

Surender  B/L                                                    ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง  สามารถรับใบสั่ง
ปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้  โดยไม่ต้องใช้ใบตรา
สินค้าต้นฉบับ

AWB (Air Waybill)                                              ใบตราสินค้าทางอากาศ

HAWB (House Air Waybill)                                ใบตราขนส่งทางอากาศที่ออกโดย Freight                                                                                                Forwarder

CAF (Currency Adjustment Factor)                      ตัวปรับเงินสกุลค่าวางเรือ

CFS (Containern Freight  Station)                         สถานีตู้สินค้า

CY (Container  Yard)                                           ลานตู้สินค้า

FCL (Full Container  Load)                                  สินค้าเต็มตู้

LCL(Less Than container  Load)                          สินค้าไม่เต็มตู้

Consolidation                                                         การรวบรวมสินค้า หรือ การรวมสินค้า โดยปกติจะ                                                                                       กระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า

TEU (Twenty-Foot Equivalent Unit)                        ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต

FEU (Forty-Foot Equivalent Unit)                          ตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต

THC (Terminal Handing Charge)                            ค่าใช้จ่ายที่ทำในการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า

Freight Collect                                                       ค่าระวางจ่ายที่เมืองปลายทาง

Freight Prepaid                                                       ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง

Detention                                                               ค่าคืนตู้สินค้าที่ช้าเกินกว่าที่กำหนด

บริการหีบห่อ (Packaging)  หมายถึง  สิ่งห่อหุ้มผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากเเหล่งผู้บริโภค  หรือแหล่งใช้ประโยชน์  หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้น

ประโยชน์ของบรรจุหีบห่อ (Packaging)
1.การป้องกัน (Protection)  เช่น  กันน้ำ  กันความชื้น  กันเเสง  กันเเก๊ส  เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำ  ต้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์เเปรสภาพ  ไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย  ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ใน สภาวะเเวดล้อมของตลาดในวงจรยาว  โดยไม่แปรสภาพขนานแท้เเละดั่งเดิม
2.การจัดจำหน่ายเเละการกระจาย (Distribution)  เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อของเอื้อ
อำนวยการเเยกขาย  ส่งต่อ  การตั้งโชว์  การกระจาย  การส่งเสริมจูงใจในตัว  ทนต่อการขนย้าย  ขนส่ง เเละการคลังสินค้า  ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล  ไม่เกิดรอยขูดขีด/ชำรุด  ตั้งเเต่จุดผลิตเเละบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ  ผู้ใช้  ผู้บริโภค  ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้
3.การส่งเสริมการจำหน่าย (Prornotion) เพื่อยืดพื้นที่เเสดงจุดเด่น  โชว์ตัวเองได้อย่างสุดุดตา  สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข  แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค  เมื่อ  ต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการเเข่งขัน  ก็สามารถเปลี่ยนเเปลงเเละจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้  เเละประหยัด
4.การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้าเเละกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging)  เหมะสมทั้งในแง่การ
ออกเเบบเเละเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอี้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว  ถือกลับบ้าน  ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือบรรจุที่มีอยู่แล้ว  รับผิดชอบต่อสังคม  ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเเละอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฏหมายเเละพระราชบัญญัติต่างๆ
5.เพิ่มยอดขาย  เนื่องจากในตลาดมีสินค้าเเละคู่เเข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา  หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกเเบบเป็นอย่างดี  จะสามารถดึงดูดตา  ดึงดูดใจผู้บริโภคเเละก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด  รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต

ประเภทของสินค้าทางอากาศ (Classification of Cargo )
สินค้าทางอากาศ  สามารถแบ่งได้เป็น  4  ประเภทหลัก  ได้แก่
1.สินค้าทั่วไป  (General Cargo)
2.สินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ (Special Cargo)
3.สินค้าของบริษัทสายการบินเเละพนักงาน (Service Cargo)
4.สินค้าเเละไปรษณีย์ภัณฑ์ทางการทูต (Diplomatic Cargo and Mail)

ตัวอย่างของสินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ
– สินค้าประเภทวัตถุอันตราย
– สินค้าเเตกหักง่าย
– สินค้าน้ำหนักมากเเละสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG)
– ศพมนุษย์ (HUM)
– สัตว์มีชีวิต (AVI)
– วัตถุที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก (MAG)
– สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER)
– สินค้ามีค่า (VAL) เเละสินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย(VUN)
– สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ (WET)
– สินค้าประเภทวัตถุอันตราย

สินค้าประเภทวัตถุอันตราย  หมายถึง  วัตถุหรือสิ่งของที่โดยคุณสมบัติของมันเองก่อให้เกิดอันตราย  ต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัย หรือทรัพย์สินได้  การขนส่งทางอากาศกระทำได้โดยจำกัด  ปริมาณการบรรจุตามวิธีการบรรจุที่ระบุไว้ในระเบียบปฎิบัติว่าด้วยการขนส่ง  สินค้าอันตราย ซึ่งการจัดประเภทสินค้าอันตรายถูกกำหนดจากลักษณะของอันตรายของสารนั้น ทั้งนี้สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้

Class 1: วัตถุระเบิด

วัตถุระเบิด จำแนกได้ 6ชนิดดังนี้
1.1 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง
1.2 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดเมื่อเกิดการระเบิด
1.3 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้และตามด้วยการระเบิด
1.4 สารที่การระเบิดไม่มีการกระจายของสะเก็ด  ผลของการระเบิดจำกัด เฉพาะในหีบห่อ
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการระเบิดจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรง
1.6 สารที่เฉื่อยต่อการระเบิด ซึ่งผลจากการระเบิดไม่รุนแรง

Class 2:

ก๊าซอัด จำแนกได้ 3 ชนิดดังนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ
2.3 ก๊าซไม่ไวไฟ
2.3 ก๊าซพิษ

Class 3: ของเหลวไวไฟ

ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash  Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียล  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด  (Closed-cup Test)  หรือไม่เกิน  65.6  องศาเซลเซียล  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test)  ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีเเหล่งประการไฟ  ตัวอย่างเช่น
อะซิโตน  น้ำมันเชื้อเพลิง  ทินเนอร์ เป็นต้น

Class 4:  ของเเข็งไวไฟ

                 ของแข็งไวไฟ จำเเนกออกเป็น  3  ชนิด  ดังนี้

                 4.1 สารที่ลุกไหม้ได้เองจากการเสียดสี  หรือปฎิกิริยาของสารเอง

                 4.2 สารที่ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ

                 4.3 สารที่ลุกไหม้ได้เองสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น

               Class 5: สารออกซิไดส์เเละสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์

             สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์  จำแนกออกเป็น 2  ชนิด ดังนี้

             5.1 สารออกซิไดส์ซึ่งจะช่วยให้สารอื่นติดไฟได้โดยการให้ออกซิเจน

             5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ซึ่งสามารถลุกไหม้ได้รับความร้อนหรือการเสียดสี

            Class 6: สารพิษเเละสารเชื้อโรค

           สารพิษเเละสารเชื้อโรค  จำเเนกออกเป็น  2  ชนิดดังนี้

           6.1 สารที่เป็นเมื่อหายใจ  กลืนกิน  หรือสัมผัส

           6.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์เเละสัมผัส

           Class 7: สารกัมมันตรังสี

          วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม  ตัวอย่างเช่น  โมนาไซด์  ยูเรเนียม  โคบอลต์  เป็นต้น

          Class 8: สารกัดกร่อน

               ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของสารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรด เกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น

                  Class 9 : สารอันตรายอื่นๆ

9.1 สารที่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่ได้จัดอยู่ในประเภทใดใน 8 ประเภท ข้างต้นแต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้

9.2 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม

9.3 ของเสียอันตราย

สินค้าแตกหักง่าย

                             สินค้าแตกหักง่าย หมายถึง สินค้าที่มีลักษณะบอบบาง เปราะ หรือแตกหักเสียหายง่ายหากเกิดการกระทบ กระแทก ถูกทับ หรือตกในระหว่างที่ทำการขนส่ง ได้แก่ เครื่องแก้ว เคื่องปั้นดินเผา เครื่องลายคราม เป็นต้น การขนส่งจะต้องบรรจุในหีบห่อที่แข็งแรง เช่น ลังไม้ และควรเป็นหีบห่อใหม่หากเคยใช้แล้วต้องอยู่ในสภาพที่ดีแข็งแรง หีบห่อของสินค้าแตกหักง่ายจะต้องติดป้าย “ของแตกหักง่าย” และป้าย “ตั้งตามลูกศร”

สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG)

            สินค้าหนัก หมายถึง สินค้าที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 150 กิโลกรัมขึ้นไปต่อหนึ่งหีบสินค้าขนาดใหญ่ หมายถึง  สินค้าที่มีขนาดกว้างหรือยาวเกินขนาดของแผ่นบรรทุกสินค้า 88″x125″,96×125″ หรือมีขนาดที่ยากยากต่อการจัดบรรทุกในเครื่องบิน แบบลำตัวแคบ สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่จะต้องได้รับการยืนยันการทำสำรองระวาง บรรรทุกก่อนการรับขนส่งทุกครั้ง

                ศพมนุษย์ (HUM)

        การรับขนส่งศพมนุษย์จะต้องมีเอกสาร “ใบมรณะบัตร” ประกอบการขนส่งศพจะต้องบรรจุอยู่ในโลงที่แข็งแรงและมีที่จับยึด ภายนอกคลุมด้วยผ้าใบ ส่วนอูฐ จะต้องใส่ในภารชนะบรรจุที่ไม่แตกง่ายมีวัตถุกันกระแทกและจะต้องมีเอกสาร “ใบฌาปณกิจ” แนบมาด้วย

                สิ่งมีชีวิต (AVI)

                        การรับส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการขนส่งสัตว์มีชีวิต ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

                  1. สุขภาพของสัตว์จะต้องไม่ป่วยหรือป่วยหรือเป็นโรค ต้องได้รับการดูเเลระหว่างการขนส่งเป็นอย่างดี  เเละห้ามรับขนส่งสัตว์ที่กำลังท้องเเก่

                  2. กรงที่ใช้ขนส่งสัตว์ต้องเหมาะสมกับชนิดของสัตว์นั้นๆ ต้องสะอาดและกันน้ำ  รั่วซึม ตลอดจนง่ายต่อการขนถ่ายพร้อมทั้งติดป้าย “สัตว์มีชีวิต”

                  3. อาหารที่นำมาเพื่อเลี้ยงดูสัตว์จะต้องรวมอยู่ในน้ำหนักที่ใช้คิดค่าระวางสินค้า

                  4. การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมีการสำรองระวางบรรทุกไว้ล่วงหน้า ตลอดเส้นทางบิน

                  5. สัตว์มีชีวิตจะนำมารวมกับสินค้าอื่นๆ ภายใต้ใบตราส่งสินค้าชุดเดียวกันไม่ได้

                  6. การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมี “ใบตรวจสุขภาพสัตว์” “ใบสำเเดงสัตว์มีชีวิต” เเละใบ

อนุญาติอื่นๆ สำหรับสัตว์บางประเภทตามที่ระบุไว้ในระเบียบว่าด้วยการขนส่ง สัตว์มีชีวิต

                   วัตถุที่มีลักษณะเป็นเเม่เหล็ก (MAG)

สินค้าเเม่เหล็กหมายถึงสินค้าที่คุณสมบัติสามารถเกิดสนามแม่เหล็กซึ่งมีผล  ต่อระบบนำร่องของเครื่องบิน  เช่น  เข็มทิศ  เรดาร์  โดยหีบห่อของสินค้าแม่เหล็กจะต้องติดป้าย “สินค้าแม่เหล็ก” ด้วย

สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER

                          สินค้าของสดเสียง่าย หมายถึงสินค้าที่ง่ายต่อการเน่าเปื่อย  หรือบูดเน่าได้ง่าย  เช่น  ผลิตภัณฑ์จากนม  เนื้อสัตว์  ปลาสด  พืช  ผักเเละผลไม้  เป็นต้น  การรับขนส่งสินค้าประเภทนี้จะต้องมีการเตรียมการ  ล่วงหน้าเเละมีทำสำรองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบินเเต่ละหีบห่อของสินค้าของสดเสียง่าย  จะต้องติดป้าย “ของสดเสียง่าย” เเละป้าย “ตั้งตามลูกศร

          สินค้ามีค่า (VAL)

          สินค้ามีค่าหมายถึงสินค้าดังต่อไปนี้

          1.สินค้าที่มีการประะเมินราคาเพื่อการขนส่งเกิน  1000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อน้ำหนักรวม  1  กิโลกรัม

          2.ทองคำหรือทองคำขาว  ทั้งที่หลอมแล้วหรือยังไม่ได้หลอม  ในรูปแบบต่างๆ

          3.ธนบัตร  ตั๋วเงิน  เช็คเดินทาง  ใบหุ้น  ใบกู้  ดวงตราไปรษณีย์และบัตรเครดิต

          4.อัญมณีมีค่า  ได้แก่  เพชร  ทับทิม  มรกต  พลอยไพลิน  มุกดา  ไข่มุกและไข่มุกเลี้ยง

          5.เครื่องประดับที่ทำด้วยอัญมณีมีค่า

          การรับสินค้ามีค่าต้องมีการควบคุมดูแลการขนส่งอย่างรัดกุมปลอดภัยในทุกขั้นตอนและต้องมีการทำสำรองระวางทุกตลอดเส้นทางบินไม่ควรมีจุดเปลี่ยน  เครื่องหรือถ้ามีก็ให้น้อยที่สุดเเละหีบห่อของสินค้ามีค่าต้องมั่นคงแข็งเเรง

         สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย (VUN)

         สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย  หมายถึงสินค้าที่ไม่เข้าข่ายสินค้ามีค่า  แต่มีลักษณะ  เเละขนาดที่  เอื้ออำนวยหรือมีราคาจูงใจให้เกิดการลักขโมยหยิบฉวยได้ง่าย  ได้เเก่  กล้องถ่ายรูป  นาฬิกาข้อมือ  เครื่องคิดเลข  เป็นต้น

         สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ (WET)

         สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบต้องมีการบรรจุหีบห่อเเละการจัดบรรทุกอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมออกมาทำให้สินค้าอื่นเสียหาย  หรือกัดกร่อนอุปกรณ์บรรทุกสินค้าเเละห้องบรรทุกสินค้าภายในท้องเครื่องบิน  ให้เกิดความเสียหายได้  โดยเฉพาะสินค้าที่มีองค์ประกอบของน้ำเค็ม  หรือเป็นน้ำที่ออกมาจากสินค้าประเภทอาหารทะเล  หีบห่อของสินค้าประเภทนี้  จึงต้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างดี  ซึ่งส่านใหญ่จะใช้กล่องโฟม

      ตัวอย่างของรหัสที่ใช้ในการระบุประเภทของสินค้า

           รหัส                           คำอธิบายลักษณะของสินค้าที่ขนส่ง

AVI                             สินค้าที่ยังมีชีวิต

CAO                           สินค้าอันตรายสามารถขนส่งบนเครื่องบินสำหรับขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ                                                   เท่านั้น

COM                           ไปรษณีย์ของบริษัท

CSU                            อุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับอาหารและอาหารในส่วนที่ไม่ได้ใช้บนเครื่อง

DIP                             ไปรษณีย์ของสถานทูต

EAT                            อาหารสำหรับมนุษย์ ยกเว้น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา และอาหารทะเล

FIL                               ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง

FKT                            อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องบิน (Flight Kit)

HEA                             สินค้าที่มีน้ำหนักเกิน 150 กิโลกรัมต่อชิ้น

HEG                             ไข่ที่พร้อมจะฟักเต็มตัว (Hatching Eggs)

HUM                            ศพที่บรรจุในโลงศพ

ICE                                น้ำแข็งแห้ง(คาร์บอนไดออกไซด์

LHO                              อวัยวะมนุษย์ หรือ เลือดมนุษย์

NIL                              ไม่มีสินค้า

PEE                              ดอกไม้

PER                              สินค้าที่เน่าเสียได้ ยกเว้น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ดอกไม้ ผัก และ                                                 ผลไม้

PES                                 อาหารทะเล

RFG                                ก๊าซติดไฟ

RFS                                ของแข็งติดไฟ

RIS                                 สารที่ติดเชื้อได้

VAL                               สินค้ามีค่า

WET                               การขนส่งของเปียกชื้นที่ไม่ได้บรรจุในตู้สินค้าที่สามารถเก็บความชื้นได้

XPS                                พัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีความสำคัญ

สิ่งที่ต้องมีในด้านการบริการ ของธุรกิจการบิน

หลักการการให้บริการที่ดี

หลักการการให้บริการที่ดี 

การบริการ

การบริการ คือ การให้ความช่วยเหลือหรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นการบริการที่ดีผู้รับบริการจะได้รับความประทับใจและเกิดความชื่นชมองค์กร อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรเบื้องหลังความสำเร็จของทุกงาน มักจะมีงานบริการเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นงานประชาสัมพันธ์งานบริการวิชาการต่างๆ ตลอดทั้งความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับซึ่งจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนางานบริการให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ จนเกิดเป็น

จิตบริการ

  1. เวลาทุกนาทีมีค่าสำหรับผู้รับบริการ
  2. การให้บริการที่ดี เริ่มจากการให้บริการที่ดีกับคนในองค์กรก่อน
  3. การให้บริการที่เกินความคาดหวังเป็นที่สุดของการบริการ
  4. การให้บริการที่ดีส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

หลักการรับฟัง…ด้วยใจ

  1. เปิดใจที่จะรับฟัง
  2. ให้เกียรติผู้พูด
  3. ตระหนักถึงความสำคัญของผู้พูด
  4. ฟังอย่างมีสติ
  5. ฟังเสียงโดยปราศจากอคติ
  6. ฟังด้วยความใส่ใจและอย่างจริงใจ
  7. ฟังโดยรับรู้สาระได้อย่างถูกต้องตรงตามที่ผู้พูดต้องการสื่อสาร
  8. ฟังโดยรับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูดอย่างถูกต้องตรงสภาพความเป็นจริง
  9. รับฟังโดยไม่ฆ่าตัดตอนการสื่อสาร
  10. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการรับฟัง

หลักการสื่อความ…ด้วยใจ

  1. เปิดใจที่จะสื่อความ
  2. ให้เกียรติต่อผู้ฟังเสมอ
  3. คิดก่อนพูดเสมอ
  4. ถ่ายทอดด้วยความจริงใจ
  5. มีความสามารถในการจัดการอารมณ์
  6. ใช้ภาษาเป็นและเหมาะสม
  7. สื่อความข้อมูลที่เป็นจริงและมีคุณภาพมีพฤติกรรมการสื่อความที่แสดงความเป็นมิตรและเป็นกันเอง
  8. สื่อความโดยไม่ฆ่าตัดตอนการสื่อสารมีคุณธรรมและจริยธรรมในการสื่อความ

คุณลักษณะของผู้ให้บริการที่ดี

การให้บริการนั้นเป็นหน้าที่ในชีวิตประจำวันที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ฉะนั้นหากเราต้องการให้ผู้อื่นชื่นชมต่อตัวเราตลอดเวลา เราก็จะต้องปรับปรุงและเสริมสร้างคุณลัษณะของเราให้เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้อื่นและที่สำคัญคือต้องถูกใจตนเองด้วย คุณลักษณะของผู้ให้บริการที่ดีควรประกอบไปด้วย#คุณลักษณะทางกาย คือ เป็นประการด่านแรกของการให้บริการเพราะลูกค้าจะสัมผัสเราโดยการมองเห็นก่อน ฉะนั้น การมีบุคลิกภาพที่ดีมีการแสดงออกที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำก่อนการมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น ต้องดีทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งทั้ง 2 ประการมีสาระที่น่าสนใจ ดังนี้

บุคลิกภาพภายนอก

ได้แก่

  • ร่างกายสะอาด
  • แต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ
  • ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • กิริยาอ่อนน้อม รู้จักที่จะไหว้ให้เป็นและสวย

บุคลิกภาพภายใน

ได้แก่

  • กระตือรือร้น
  • รอบรู้
  • เต็มใจและจริงใจ
  • ความจำดี
  • มีปฏิภาณไหวพริบ
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีอารมณ์มั่นคง

คุณลักษณะทางวาจา

นับเป็นคุณลักษณะที่มีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาของการให้บริการส่วนใหญ่จะเกิดจากการสื่อสารระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการ ดังนั้นหากสามารถนำคุณลักษณะทางวาจาที่ดีมาใช้ได้มากปัญหาการบริการก็จะลดลง ซึ่งคุณลักษณะทางวาจาที่เหมาะสมมีดังนี้

  • พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
  • รู้จักให้คำชมตามโอกาสอันสมควร
  • ใช้ถ้อยคำภาษาให้ถูกต้อง
  • ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์
  • พูดชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
  • หลีกเลี่ยงการตำหนิและนินทา
  • รู้จักทักทายผู้อื่นก่อน

อย่าลืมใช้คำว่า

“สวัสดี ขอโทษและขอบคุณ”นอกจากการใช้วาจาดังที่กล่าวแล้ว เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จในงานบริการก็คือต้องเป็นผู้ฟังที่ดี   ซึ่งมีหลักปฏิบัติดังนี้
  • ฟังด้วยความเต็มใจ สนใจและใส่ใจ
  • อย่าปล่อยให้อคติเข้ามารบกวน
  • จับความให้ได้และตอบรับอย่างมีจังหวะ
  • ถามคำถามและตรวจสอบความเข้าใจ
  • อย่าขัดจังหวะ

คุณลักษณะภายในใจ

สุดยอดของการให้บริการก็คือบริการด้วยหัวใจ ซี่งขอหยิบยกคุณลักษณะที่เป็นพื้นฐานในเรื่องนี้  ดังต่อไปนี้
  • รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา กล่าวคือเมื่อเราต้องการแต่สิ่งดี ๆ เราก็ควรจะมอบสิ่งดีนั้นให้แก่ผู้อื่นด้วย ในทางกลับกันถ้าเราไม่ต้องการสิ่งที่ไม่ดีเราก็ไม่ควรปฏิบัติเช่นนั้น
  • ให้บริการผู้อื่นประดุจคนรักของตน ถ้าเรานึกถึงได้ว่าเมื่อเรามีคนรักและอยู่ในห้วงแห่งความรักนั้น เราปฏิบัติต่อคนรักเราฉันใด เราก็ควรปฏิบัติต่อผู้อื่นฉันนั้น
  • สร้างความรักและสิ่งดีงามในหัวใจ มีผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ตรงกันว่าคนเรามีหัวใจเป็นอย่างไรการแสดงออกก็จะเป็นอย่างนั้น หากเรามีความโกรธในจิตใจการแสดงออกก็จะเต็มไปด้วยความกราดเกรี้ยว ดุดัน คำพูดก้าวร้าว หน้าตาบึ้งตึง แต่ถ้าเรามีจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา กิริยาท่าทางที่ออกมาก็จะมีแต่รอยยิ้ม ความเอื้ออาทร ความเห็นอกเห็นใจ และความจริงใจ

หลักในการให้บริการ

  1. การให้บริการอย่างมีคุณภาพนั้น ต้องทำทุกครั้งไม่ใช่ทำเฉพาะการบริการครั้งแรกเท่านั้น
  2. คุณภาพของการบริการวัดจากความพอใจของลูกค้าไม่ใช่วัดจากความพอใจของผู้ให้บริการ
  3. การบริการที่คุณภาพเกิดขึ้นจากการที่ทุกคนในองค์การร่วมมือกันและลงมือกระทำอย่างจริงจังและจริงใจ
  4. การบริการที่มี่คุณภาพต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้
  5. การบริการที่ดีย่อมเกิดจากการสื่อสารที่ดีต่อกัน
  6. ผู้ให้บริการต้องรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นสุขที่มีโอกาสทำให้ผู้รับบริการเกิดความพอใจ

กลยุทธ์การให้บริการที่ประทับใจ

สุดยอดของการให้บริการก็คือความพึงพอใจและความประทับใจ ดังที่กล่าวแล้วว่า ผู้ให้บริการเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่เคล็ดลับการบริการที่ประทับใจ ฉะนั้นจึงใคร่ขอสรุปประเด็นกลยุทธ์ที่ได้รวบรวมจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและสั่งสมจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองมานำเสนอไว้ดังนี้

  1. ผู้รับบริการพอใจ เราพอใจ ถือความเป็นสมดุลที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ดังพุทธศาสนาได้บัญญัติไว้ว่าความสุขที่แท้คือการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน
  2. รอยยิ้มพิมพ์ใจย่อมติดใจในผู้รับบริการ มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า รอยยิ้มของคนเราสามารถขจัดปัญหาทั้งมวล นั่นแปลว่ารอยยิ้มเริ่มเกิดจากจิตใจที่สะอาด สว่าง สงบ อันนำมาซึ่งสติปัญญาของคนเราที่จะพิจารณาไตร่ตรองหาทางออกให้กับปัญหานั้น
  3. ต้องการให้คนอื่นทำอะไรให้กับตัวเรา เราต้องทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นก่อน เราต้องรู้จักอคติในตัวเราเพื่อเปิดใจในการให้และรับความปรารถนาดีจากผู้อื่น
  4. เอาชนะตนเองให้ได้ ศักดิ์ศรีและความสำเร็จของมนุษย์นั้น ไม่ใช่อยู่ที่การอยู่เหนือหรือเอาชนะผู้อื่น แต่อยู่ที่เราสามารถเอาชนะใจตนเองให้ได้ เราจะสามารถทำงานบริการให้ได้มีคุณภาพนั้นต้องเริ่มที่ใจของตนเองก่อน กล่าวได้ว่าการพัฒนาคุณลักษณะทางกาย วาจา และใจของผู้ให้บริการนั้นจำเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานที่ดีมาจากทัศนคติของบุคคลนั้น ด้วยเหตุนี้จึงอยากให้พวกเราได้นำพฤติกรรมบริการที่ได้กล่าวไปแล้วไปปฏิบัติเพื่อให้ตัวเรามีความสุขที่แท้ในการทำงาน

ลักษณะของ “การบริการที่ดี” ประกอบด้วย

  1. ผู้รับบริการต้องมาก่อนเสมอ หมายถึง คำนึงถึงผู้รับบริการก่อนสิ่งอื่นใด
  2. ผู้รับบริการถูกเสมอไม่ว่าผู้รับบริการจะพูดจะทำอย่างไรต้องไม่โต้แย้งเพื่อยืนยันว่าผู้รับบริการผิด
  3. ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกอบอุ่นสบายใจ

คุณสมบัติ/คุณลักษณะของผู้ให้บริการ (บุคลากรในสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน)

  1. ดูแล หน้าตา ทรงผม เล็บมือ ให้สะอาดอยู่เสมอ
  2. ขณะให้บริการ อย่ารับประทานอาหาร หรือของขบเคี้ยวต่างๆ
  3. อย่าท้าวเอว เกาหัว หาวนอน หยอกล้อเล่นกันขณะให้บริการ
  4. อย่าเสริมสวย ล้วง แคะ แกะ เกา ขณะให้บริการ
  5. ห้ามพูดจา หรือหยิบของข้ามหน้าข้ามตาผู้อื่น
  6. แต่งกายสภุาพเรียบร้อยถูกระเบียบ
  7. ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการ#ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอเมื่อมีผู้รับบริการ
  8. ประสานงาน และติดตามงานกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
  9. มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ
  10. มีความพร้อม และกระตือรือร้นในการให้บริการให้เกียรติผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการมีความอดทนอดกลั้น

มาตรฐานการให้บริการ

มาตรฐานการต้อนรับผู้รับบริการ

  1. สอบถามความต้องการของผู้รับบริการก่อนเสมอ
  2. สอบถามความต้องการโดยใช้คำพูด “สวัสดีครับ/ค่ะ ต้องการติดต่อเรื่องอะไรครับ/ค่ะ”
  3. อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ
  4. ให้การต้อนรับผู้รับบริการด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี
  5. มองสบตา พายิ้มพิมพ์ใจ ปราศรัยทักทายผู้มารับบริการก่อนเสมอ
  6. ขณะให้บริการ ต้องมีความกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น เสมอ
  7. ให้บริการแก่ผู้รับบริการทุกคนด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามลำดับ ก่อน-หลั
  8. ถ้าหากมีผู้รับบริการมาก เกิดการบริการที่ล่าช้าหรือมีข้อผิดพลาดใดๆ ต้องกล่าวคำว่า “ขอโทษ” เสมอ
  9. ให้บริการภายในเวลาที่กำหนด หากดำเนินการไม่ได้ ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้รับบริการ ทราบด้วยวาจาที่สุภาพ

มาตรฐานการรับโทรศัพท์

  1. รับโทรศัพท์ทันทีเมื่อได้ยินเสียงเรียก หากมีเหตุผลจำเป็นต้องรับโทรศัพท์ช้าไม่ควร ให้เสียงกริ่งดังเกิน 3 ครั้ง
  2. กล่าวคำทักทาย โดยพูดว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ, (ชื่อหน่วยงาน), (ชื่อผู้รับโทรศัพท์), รับสายครับ/ค่ะ”
  3. เมื่อผู้รับบริการแจ้งความต้องการแล้ว ให้ผู้รับโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมารับสายโดยเร็ว
  4. กรณีที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่อยู่หรือไม่สามารถรับโทรศัพท์ได้ ให้ผู้รับโทรศัพท์สอบถาม รายละเอียดต่างๆ จากผู้ที่โทรเข้ามา เช่น ชื่อผู้โทร เบอร์ติดต่อกลับ เรื่องที่ต้องการจะติดต่อเพื่อ แจ้ง ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป

หัวใจการบริการ

  1. ต้องมีความรวดเร็วทันเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวการณ์แข่งขันยุคปัจจุบัน ความรวดเร็วของการปฏิบัติงาน ความรวดเร็วของการให้บริการจากการติดต่อจะเป็นที่พึงประสงค์ของทุกฝ่าย ดังนั้นการให้บริการที่รวดเร็วจึงเป็นที่ประทับใจเพราะไม่ต้องเสียเวลารอคอย สามารถใช้เวลาได้คุ้มค่า
  2. ต้องมีความถูกต้องชัดเจนงานบริการที่ไม่ว่าจะเป็นการให้ข่าวสาร ข้อมูล หรือการดำเนินงานต่าง ๆ ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนเสมอ
  3. การจัดบรรยากาศสภาพที่ทำงานต้องจัดสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย มีป้ายบอกสถานที่ ขั้นตอนการติดต่องาน ผู้มาติดต่อสามารถอ่านหรือติดต่อได้ด้วยตนเองไม่ต้องสอบถามใคร ตั้งแต่เส้นทางเข้าจนถึงตัวบุคคลผู้ให้บริการและกลับไปจุดการให้บริการควรเป็น One stop service คือไปแห่งเดียวงานสำเร็จ
  4. การยิ้มแย้มแจ่มใสหน้าต่างบานแรกของหัวใจในการให้บริการคือความรู้สึก ความเต็มใจและความกระตือรือร้นที่จะให้บริการ เป็นความรู้สึกภายในของบุคคลว่าเราเป็นผู้ให้บริการ จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดให้ประทับใจกลับไปความรู้สึกดังกล่าวนี้ จะสะท้อนมาสู่ภาพที่ปรากฏในใบหน้าและกิริยาท่าทางของผู้ให้บริการ คือการยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายด้วยไมตรีจิต การยิ้มแย้มแจ่มใสจึงถือเป็นบันไดขั้นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร การยิ้มคือการเปิดหัวใจการให้บริการที่ดี
  5. การสื่อสารที่ดีการสื่อสารที่ดีจะสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ตั้งแต่การต้อนรับด้วยน้ำเสียง และภาษาที่ให้ความหวังให้กำลังใจ ภาษาที่แสดงออกไม่ว่าจะเป็นการปฏิสัมพันธ์โดยตรง หรือทางโทรศัพท์จะบ่งบอกถึงน้ำใจการให้บริการข้างในจิตใจ ความรู้สึกหรือจิตใจที่มุ่งบริการจะต้องมาก่อนแล้วแสดงออกทางวาจา
  6. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา นึกถึงความรู้สึกของผู้มาติดต่อขอรับบริการ เขามุ่งหวังได้รับความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความถูกต้อง การแสดงออกด้วยไมตรีจากผู้ให้บริการ การอธิบายในสิ่งที่ผู้มารับบริการไม่รู้ด้วยความชัดเจน ภาษาที่เปี่ยมไปด้วยไมตรีจิต มีความเอื้ออาทร ติดตามงานและให้ความสนใจต่องานที่รับบริการอย่างเต็มที่ จะทำให้ผู้มาขอรับบริการเกิดความพึงพอใจ
  7. การพัฒนาเทคโนโลยี เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือและเทคนิควิธีการให้บริการที่ดีและรวดเร็วในด้านการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลต่างๆจะเป็นการเสริมการให้บริการที่ดีอีกทางหนึ่ง เช่น Website
  8. การติดตามและประเมินผลการบริการที่ดีควรมีการติดตาม และประเมินผลความพึงพอใจจากผู้รับบริการเป็นช่วง ๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและผลสะท้อนกลับว่ามีข้อมูลส่วนใดต้องปรับปรุงแก้ไข เป็นการนำข้อมูลกลับมาพัฒนาการให้บริการและพัฒนาตนต่อไป

การสร้างหัวใจนักบริการ

  1. S = Smiling and Sympathy (ยิ้มแย้ม และเห็นอกเห็นใจ)
  2. E = Early Response (ตอบสนองอย่างรวดเร็ว)
  3. R = Respectful (แสดงออกถึงความนับถือให้เกียรติ)
  4. V = Voluntariness manner (ให้บริการสมัครใจ)
  5. I = Image Enhancing (รักษาภาพลักษณ์ของตัวเองและองค์กร)
  6. C = Courtesy (อ่อนน้อม สุภาพ)
  7. E = Enthusiasm (กระฉับกระเฉง กระตือรือร้น)

 

 

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวธุรกิจการบิน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบิน ; Aviation

Passenger airplane landing on runway in airport.

Passenger airplane landing on runway in airport. Evening

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบิน ( Aviation)

ความหมาย

Aviation (N) หมายถึง  ศิลปะและศาสตร์ในการบิน  (English-Thai: NECTEC‘s Lexitron-2 Dictionary )

Aviation หมายถึง  (เอวิเอ’ เชิน) n. วิธีการบิน,วิชาการบิน,การออกแบบ พัฒนาและสร้างเครื่องบิน (flying)  (English-Thai: HOPE Dictionary)

Aviation หมายถึง  (n) การบิน,วิชาการบิน,วิธีการบิน (English-Thai: Nontri Dictionary)

Aviation  \A’vi*a”tion\, n.     The art or science of flying.

[1913 Webster]  From The Collaborative International Dictionary of English v.0.48 [gcide]:

Aviation

n 1: the aggregation of a country’s military aircraft [syn: {aviation}, {air power}]

2: the operation of aircraft to provide transportation

3: the art of operating aircraft [syn: {aviation}, {airmanship}]

4: travel via aircraft; “air travel involves too much waiting in  airports”; “if you’ve time to spare go by air” [syn: {air    travel}, {aviation}, {air}] From WordNet (r) 3.0 (2006) [wn]:

AVIATION  หมายถึง การบิน หรือ การขนส่งทางอากาศ เป็นการลำเลียง คน สัตว์ และสิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยใช้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปในอากาศ (การขนส่งทางอากาศเริ่มจากเครื่องร่อน บอลลูน เรือเหาะ และในปัจจุบันใช้เครื่องบิน)

การปฏิบัติในการขนส่งทางอากาศโดยทั่วไป ทำโดยผู้ส่งสินค้าทำสัญญาขนส่งกับผู้ขนส่งสินค้า และผู้ขนส่งสินค้าจะรับภาระหน้าที่ในการขนส่งให้เสร็จถึงผู้รับสินค้า ผู้ขนส่งอาจเป็นได้ทั้งบริษัทสายการบิน หรือบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ

วิวัฒนาการของการบิน

การบินมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้มีการคิดค้นเครื่องยนต์ และวัสดุใหม่ๆ ก็คือ  สงครามที่ต้องเอาชนะกันด้วยความเร็ว และความสามารถในการบิน

การบิน (Aviation)  หมายถึง การใช้อากาศยานเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

การบินในที่นี้หมายถึง การบินพลเรือน (Civil Aviation) ซึ่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) แบ่งประเภทของการบินพลเรือน (Civil Aviation) ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ

(1)          การบินพาณิชย์ (Commercial Aviation) หรือการขนส่งทางอากาศ (Air    Transport)

(2)          การปฏิบัติงานทางอากาศ (Aerial Work)

(3)          การบินทั่วไป (General Aviation)

อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารการบินของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) แบ่งการบินพลเรือนออกเป็น 2 ประเภท คือ:

(1)    การบินพาณิชย์ (Commercial Aviation) ซึ่งมีรายละเอียดเช่นเดียวกับที่  ICAO กำหนด

และ

(2)    การบินที่มิใช่เพื่อการพาณิชย์ (Non – Commercial Aviation) ซึ่งมีรายละเอียด

เช่นเดียวกับ การปฏิบัติงานทางอากาศ และการบินทั่วไปที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศกำหนด

งานการบินพลเรือนนั้นประกอบด้วยงานหลายประเภทที่มีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านการบินพลเรือนในแต่ละประเภทนั้น ก็มี

ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และมีจุดประสงค์ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานด้าน

การบินพลเรือนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานของงานการบินพลเรือนโดยทั่วๆไปด้วย

งานการบินพลเรือนนี้เป็นงานบริการซึ่งสามารถแยกออก  ได้หลายมุมมอง ในที่นี้

จะกล่าวถึงงาน 2 ประเภท คือ งานการขนส่งทางอากาศ (Air Transport) หรือการบินพาณิชย์ (Commercial Air Transport) และการเดินอากาศ (Air Navigation) ซึ่งเป็นงานที่หลายหน่วยงานให้บริการกับผู้ทำการบิน

1.1.1 การบินพาณิชย์ หรือการบินเพื่อการค้า (Commercial Air Transport)

งานบริการขนส่งทางอากาศประเภทนี้ เป็นงานบริการที่ดำเนินการโดยมุ่งหวังเอาผลตอบแทนจากการบริการเป็นตัวเงินโดยตรง ซึ่งอาจคิดเป็น ค่าโดยสาร ค่าระวาง หรือค่าเช่า ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของงานบริการขนส่งทางอากาศประเภทนี้คือ การประกอบการหรือการให้บริการของสายการบินต่างๆ

การบินพาณิชย์ หรือการให้บริการขนส่งทางอากาศ ประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะย่อย ๆ คือ

  • การบริการแบบประจำ (Scheduled Services)
  • การบริการแบบไม่ประจำ (Non-Scheduled Services)

เนื่องจากการบินพาณิชย์เป็นการบริการที่มีการตอบแทนในเชิงธุรกิจนี้เอง จึงมักพบเห็นคำว่า “การบริการทางอากาศ” (Air Services)   ในความหมายเดียวกัน

1.1.2 การบินทั่วไป (General Aviation)

หมายถึง  การบินที่มิได้มีจุดประสงค์เพื่อหวังผลตอบแทนตามที่กล่าวแล้วในข้อ 1.1.1

การบินประเภทนี้ได้แก่การบินเพื่อการกีฬา การบินเพื่อหาความเพลิดเพลินของสมาชิกสโมสรการบินต่างๆ หรือการบินของส่วนบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องบิน เพื่อธุรกิจของตนเอง เป็นต้น

1.1.3 การทำการบนอากาศ (Ariel Work)

ได้แก่ การถ่ายรูปทางอากาศ   การทำฝนเทียม การโปรยปุ๋ย หรือยากำจัดแมลงศัตรูพืช

โดยที่การขนส่งทางอากาศนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจความมั่นคงของประเทศและ

ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น ทางราชการจึงได้กำหนดให้ “การขนส่งทางอากาศเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค และผู้ที่จะประกอบกิจการค้าขายดังกล่าวนี้ จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสียก่อน

(ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2515)

สำหรับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport) นั้น ก็จะต้องได้รับการอนุญาตเช่นกัน โดยในมาตราที่ 27 ของพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้อากาศยาน นอกจากอากาศยานต่างประเทศบินออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่” (พนักงานเจ้าหน้าที่ในที่นี้คือ อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522) ซึ่งเป็นการกำหนดสำหรับอากาศยานที่จดทะเบียนเป็นของไทย

สำหรับอากาศยานต่างประเทศนั้น ข้อกำหนดตามมาตราที่ 28 ของพระราชบัญญัติเดียวกันนี้ กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้อากาศยานต่างประเทศบินผ่าน หรือขึ้นลงในราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีสิทธิตามอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี”

การห้ามหรือการกำหนดให้อากาศยานประเทศอื่นบินผ่าน หรือขึ้นลงในประเทศของตนเองก่อนได้รับอนุญาตนั้น เป็นการปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งทุกประเทศก็จะมีข้อห้ามหรือข้อกำหนดในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ เมื่อต่างคนต่างห้ามกันเช่นนี้ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น เพื่อจะให้มีการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศเกิดขึ้น จึงต้องมีการเจรจาตกลงกัน เพื่อขอหรือแลกเปลี่ยนผลตอบแทนซึ่งกันและกัน การเจรจาหรือข้อตกลงนี้เรียกว่า “ข้อตกลงสองฝ่าย หรือทวิภาคี (Bilateral Agreement)” เป็นการตกลงเพื่อที่จะขอหรือแลกเปลี่ยนสิทธิในการบินและการขนการจราจร (การขนผู้โดยสารและสินค้า) ซึ่งกันและกัน

ในการเจรจาเพื่อทำความตกลงทวิภาคีนี้ สำหรับประเทศไทยนั้นดำเนินการโดย “คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาล เพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ” ซึ่งปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน

ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศนั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยการทำข้อตกลงสองฝ่ายหรือทวิภาคี การทำข้อตกลงดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะเป็นการขอหรือแลกเปลี่ยนสิทธิการบิน (Traffic Right) ซึ่งกันและกัน ซึ่งสิทธิการบินนี้จะระบุถึงสิทธิการรับขนการจราจร ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ว่าจะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิในประเภทใดบ้าง ดังนั้น ในการที่สายการบินกำหนดตารางการบินขึ้นมาในแต่ละฤดูนั้น จึงต้องส่งให้กรมการบินพาณิชย์พิจารณาตรวจสอบว่า ตามตารางการบินนั้น ถูกต้องตามสิทธิที่จะได้รับตามข้อตกลงหรือไม่ เพื่อการอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้น กรมการบินพาณิชย์มิได้มีหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกำหนดวัน เวลา เครื่องบินเข้า-ออกแต่อย่างใด และที่กรมการบินพาณิชย์อนุญาตตารางบินนั้น ก็เป็นการอนุญาตตามสิทธิที่สายการบินนั้นได้รับ คือมีจำนวนเที่ยวบินและแบบหรือชนิดของเครื่องบินถูกต้องตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกันไว้เท่านั้นเอง

หัวใจของการบริการด้านการขนส่งทางอากาศ คือ สิ่งอำนวยความสะดวกและพิธีการต่าง ๆ ที่ให้กับผู้โดยสาร สัมภาระเดินทาง สินค้าและผู้ประกอบการ คือ สายการบิน บริการเหล่านี้ได้แก่ พิธีการทางด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบโรค (คน สัตว์ และพืช) ความสะดวกของผู้โดยสารหรือสินค้าที่จะได้รับ นับตั้งแต่เดินทางจากตัวเมืองมาถึงท่าอากาศยาน ในขณะที่อยู่ภายในท่าอากาศยานจนออกขึ้นเครื่องบิน ในทางกลับกันก็คือความสะดวกของผู้โดยสารหรือสินค้าที่ลงจากเครื่องยินมาสู่ภายในท่าอากาศยาน และออกเข้าสู่เมือง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารแถลงข่าวการบิน (Aeronautical Information Publication: AIP)

1.2 การเดินอากาศ (Air Navigation)

หมายถึง  การปฏิบัติการขนส่งทางอากาศจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง การเดินอากาศนี้เป็นงานที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องของความปลอดภัย เพราะความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินอากาศนี้ หมายถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ ดังนั้น งานด้านการเดินอากาศนี้จึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกัน ระหว่างผู้ประกอบการ อันได้แก่ สายการบิน  นักบิน  ผู้ให้บริการภาคพื้น  และผู้ควบคุมในการปฏิบัติการบิน การเดินอากาศเป็นงานที่หลายหน่วยงานให้บริการกับผู้ทำการบิน

งานด้านการเดินอากาศนี้ สามารถแยกออกเป็นงานย่อย ๆ ตามลักษณะของการควบคุมและการให้บริการได้เป็น 6 ประเภท ด้วยกัน คือ

1.2.1 งานควบคุมและการให้บริการด้านสนามบิน

งานประเภทนี้ ได้แก่ การก่อสร้างและให้บริการของสนามบิน การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย เครื่องช่วยการเดินอากาศต่าง ๆ ที่อยู่ภายในสนามบิน รวมตลอดถึงการซ่อมบำรุงด้วย เพื่อให้บริการกับผู้โดยสาร สัมภาระเดินทาง สินค้า และวัสดุไปรษณียภัณฑ์ และผู้ประกอบการ (สายการบิน) ด้วยความสะดวกและปลอดภัย

1.2.2 งานบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services: ATS)

งานบริการจราจรทางอากาศนี้ จุดประสงค์เพื่อที่จะ

(1)    ป้องกันอากาศยานไม้ให้ชนกันในขณะที่ทำการบิน

(2)  ป้องกันอากาศยานที่กำลังขับเคลื่อนไม่ให้ชนกัน หรือชน กับสิ่งกีดขวางที่

อยู่บนภาคพื้นที่ขับเคลื่อนนั้น ๆ

(3)  ช่วยให้การจราจรทางอากาศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว

(4)  ให้คำแนะนำและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพ

ของการขนส่งทางอากาศ

(5)  แจ้งและช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานที่ประสบอุบัติเหตุ  และ

อากาศยานที่ต้องการการช่วยเหลือและค้นหางานบริการจราจรทางอากาศนี้ ได้แก่

1.2.2.1 การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control Services)

การควบคุมจราจรทางอากาศ คือ การดูแลและจัดการให้การทำการบินและการขับเคลื่อนของอากาศยานดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

(1)    บริการควบคุมจราจรทางอากาศในเขตแถลงข่าวการบิน

(Area Control Services) เป็นงานให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินที่อยู่ในเส้นทางการบิน (Airways) ภายในเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region: FIR) ยกเว้น เขตควบคุมการบินของหอบังคับ การบิน (Terminal Control Area: TMA)

(2)    บริการควบคุมจราจรทางอากาศประชิดเขตสนามบิน (Approach Control

Services) เป็นการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินที่อยู่ภายในเขตควบคุมการบินของหอบังคับการบิน (TMA)

(3)    บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน     (Aerodrome Control

Services)  เป็นการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินในขณะที่กำลังทำการบินขึ้นหรือลง ตลอดจนขณะที่ขับเคลื่อนอยู่บนทางวิ่ง ทางขับและ ลานจอด

1.2.2.2 การบริการข่าวการบิน (Flight Information Service: FIS)

งานประเภทนี้เป็นการให้บริการข่าวสำหรับการบิน หรือคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และเพื่อความปลอดภัยในการเดินอากาศ ซึ่งได้แก่

(1)  ข้อมูลข่าวอากาศที่สำคัญ (SIGMET)

(2) ข้อมูลสภาพการให้บริการของเครื่องช่วยการเดินอากาศ

(3) ข้อมูลสภาพสนามบินและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

(4) ข่าวเกี่ยวกับการปล่อยบัลลูนที่ไม่มีคนบังคับ

1.2.2.3 การบริการระวังภัย (Alerting Service)

เป็นการบริการแจ้งข่าวฉุกเฉินแก่เครื่องบินที่อยู่ในเขตควบคุมการบินที่รับผิดชอบได้รับทราบ หรือแจ้งให้หน่วยที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อเตรียมการช่วยเหลือ เช่น ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับเครื่องบิน หรือการติดต่อขาดหายไปนาน เป็นที่ผิดสังเกต

1.2.3 งานบริการโทรคมนาคม (Aeronautical Telecommunication)

งานบริการโทรคมนาคมการบินแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.2.3.1 การบริการการบินประจำที่ (Aeronautical Fixed Service)   คือ การบริการโทรคมนาคมการบินระหว่างสถานีที่อยู่บนภาคพื้น ด้วยกัน

1.2.3.2 การบริการการบินเคลื่อนที่ (Aeronautical Mobile Service)  คือ การบริการ

โทรคมนาคมระหว่างอากาศยานกับสถานีการบิน  ภาคพื้นดิน

1.2.3.2.1 การบริการวิทยุช่วยการเดินอากาศ (Aeronautical Radio Navigation

Service)    คือการบริการให้ความปลอดภัยในการเดินอากาศด้วยวิทยุช่วยกาเดินอากาศเพื่อให้อากาศยานสามารถหาตำแหน่งหรือทิศทางของตัวเองได้ หรือบอกให้ทราบถึงสิ่งกีดขวาง

การเดินอากาศ

1.2.3.2.2 การบริการกระจายเสียงการบิน (Aeronautical Broadcasting Service)

ส่วนใหญ่ของบริการด้านนี้เป็นการส่งข่าวอากาหรือแจ้งชื่อสถานี เครื่องช่วยการเดินอากาศ

1.2.4  งานบริการอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Service)

บริการอุตุนิยมวิทยาเป็นการให้  ข้อมูลข่าวอากาศ

(1)   ที่ท่าอากาศยานที่เครื่องบินจะบินขึ้นในเวลานั้น

(2)  ที่ท่าอากาศยานที่เครื่องบินจะไปลง ในเวลาที่ประมาณไว้ว่าจะถึง

(3)  ตามเส้นทางบิน และที่ท่าอากาศยานที่อยู่ในเส้นทางบิน

(4) ที่สนามบินสำรอง ตามที่กำหนดในแผนการบิน หรือที่ระบุไว้ใน

แผนการ เดินอากาศของภูมิภาค   (Regional Air Navigation Plan) นั้นๆ

1.2.5  งานบริการค้าหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Service)

เป็นบริการที่ให้ข่าว เกี่ยวกับการทำการบิน เช่น

(1) ข่าวประกาศนักบิน (Notice to Air Men: NOTAM)

(2) ข้อมูลในเอกสารข่าวเพื่อทำการบิน (Aeronautical Information Publication:  AIP)

(3) ข้อมูลก่อนทำการบิน (Pre-flight Information)

จะเห็นได้ว่า งานและบริการต่างๆ ในงานการบินพลเรือนนั้นมีหลายอย่าง และมีหลายหน่วยงานที่ปฏิบัติและเกี่ยวข้องกันอยู่ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  คือ

–         กระทรวงคมนาคม

–         กรมขนส่งทางอากาศ

–         กรมอุตุนิยมวิทยา

–         บริษัท  ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

–         บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

–         สายการบินต่างๆ

–         คณะกรรมการต่างๆด้านการบินพลเรือน